TH

ไข้หัดแมว โรคอันตรายของแมวเหมียว

ไข้หัดแมว โรคอันตรายของแมวเหมียว
เขียนเมื่อ 23 มิ.ย. 2560   |   โดย ศรุดาภา   |   มีคนอ่านแล้ว 96571 คน

ไข้หัดแมว โรคอันตรายของแมวเหมียว

     โรคไข้หัดแมวนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัส (Felin Parvovirus)  มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของแมว แต่ไม่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจเหมือนไข้หวัดแมว จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ค่อนข้างมาก พบว่ามีอัตราการตายสูงถึง 50 - 90% โดยเกิดขึ้นได้กับแมวทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในแมวอายุน้อย (น้อยกว่า1ปี) มักพบในแมวที่ไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน หรือรับวัคซีนมาแล้วแต่ไม่ครบถ้วนตามโปรแกรมวัคซีน และมักพบโรคนี้ในแมวที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่หนาแน่น หรือแมวที่มีภาวะเครียดค่ะ







     น้องแมวจะได้รับเชื้อไวรัสไข้หัดแมวจากการกินสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งอาจมาจากการสัมผัสการคัดหลั่ง อุจจาระ น้ำลาย จากแมวป่วยโดยตรง หรืออาจได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าพบว่ามีแมวป่วยด้วยไวรัสชนินี้จึงจำเป็นที่จะต้องแยกแมวป่วยจากแมวตัวอื่นโดยเด็ดขาด ไม่ควรใช้ของร่วมกัน ทำความสะอาดบริเวณบ้านด้วยน้ำาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม นอกจากนี้คนที่ดูแลแมวป่วยด้วยโรคไข้หัดแมวนี้ ถ้าต้องไปจับน้องแมวตัวอื่นที่ไม่ได้ป่วย ก็ต้องล้างมือและตัวให้สะอาดเสียก่อน

    แมวจะแสดงอาการป่วยภายใน 3-7วัน หลังจากได้รับเชื้อ อาการที่สำคัญที่พบคือมีไข้สูงเฉียบพลัน ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และมีผลต่อการทรงตัวของลูกแมว อาจทำให้ลูกแมวตาบอดได้ส่วนในแมวโตเมื่อเกิดการติดเชื้อระยะหนึ่งแล้วร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ก็จะมีอาการดีขึ้น แต่แมวที่หายจากโรคใหม่ๆ สามารถพบเชื้อไวรัสออกมากับอุจจาระได้หลายสัปดาห์ ตรวจเลือดพบว่าเม็ดเล็ดขาวต่ำมาก หากคลำที่บริเวณช่องท้องแมวจะเจ็บเพราะภายในมีแก็สและของเหลว ส่วนในแมวตั้งท้องอาจแท้งลูกหรือลูกตายหลังคลอดได้ ถือเป็นโรคที่อันตรายมากโดยเฉพาะกลุ่มแมวที่ไม่เคยรับวัคซีน 





การรักษา

     มักจะเป็นการรักษาตามอาการ ขั้นตอนการรักษา หลักๆคือทำให้แมวกินอาหารให้ได้ ต้องพยายามป้อนอาหาร พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อน การรักษาทำได้เพียงเท่านี้ จะรอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานและความแข็งแรงของแมวแต่ละตัว อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีที่สุดคือการให้วัคซีนไว้แต่เนิ่นๆ ในปัจจุบันมีการให้ยา INTERFERON ซึ่งเป็นยาแบบฉีดในขนาดสูงเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสร่วมกับการรักษาตามอาการ ซึ่งพบว่าถ้าฉีดยา INTERFERON แมวที่แสสดงอาการป่วยไปแล้วจะเพิ่มอัตราการรอดได้ประมาณ 10-20% เมื่อเทียบกับการรักษาตามอาการแบบเดิมเพียงอย่างเดียว



    จุดเปลี่ยนสำคัญในความเป็นความตายของแมวกับโรคไข้หัดคือ ความรวดเร็วในการรักษา ถ้าผู้เลี้ยงสังเกตว่าแมวเป็นหัดเร็ว พาไปรักษาทันท่วงที โอกาสรอดก็มีสูง ซึ่งสภาพที่เห็นภายนอกนั้นแมวอาจจะดูนิ่งๆ เซื่องซึม ถ้าสังเกตมากขึ้นจะเห็นว่า แมวมีน้ำมูก เจ็บคอ กินอาหารไม่ได้ หัดแมวเป็นแล้วจะทรมานมาก ถ้าไม่รักษาก็คือตาย






การป้องกันแมวไม่ให้เป็นโรคไข้หัด

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง มีแต่การรักษาเพื่อประคับประคองชีวิตเท่านั้น การป้องกันที่สัตวแพทย์แนะนำคือการรับวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดแมวจำหน่ายหลายยี่ห้อ และยังเป็นวัคซีนรวมอีกด้วย 

คือ ใช้ป้องกันได้ทั้งโรคไข้หัดแมว และโรคไข้หวัดแมวไปพร้อมกัน ซึ่งสามารถรับการฉีดวัคซีนได้ตามคลีนิคสัตวแพทย์ทั่วๆไป 





** วัคซีนอื่นๆที่สำคัญในแมว มี 4 ชนิด คือ โรคไข้หัดแมว โรคพิษสุนัขบ้า โรคลูคีเมียหรือมะเร็งแมว และโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 

***ข้อเตือนสำหรับผู้เลี้ยงแมว ถ้าแมวเป็นหวัดเจ้าของจะให้กินยาพาราเซตามอลรเพื่อลดไข้เหมือนการรักษาคนไม่ได้เด็ดขาด ถ้าหากให้แมวกิน แมวจะมีอาการแพ้มาก บางตัวอาจตายได้ ยาพาราเซตามอลจะไปทำลายตับ 







บทความโดย www.tailybuddy.com


ข้อมูลบางส่วนมาจาก

www.rakmaw.com

www.citycat88.com


ภาพประกอบจาก

www.associazione-alfa.org

www.pet.thaipetonline.com

www.divaveterinorio.com.br














TH
รถเข็นสินค้า

รถเข็นสินค้าของคุณว่างเปล่า
สินค้า จำนวน รวม