TH

โรคที่มักเกิดกับปลากัด

โรคที่มักเกิดกับปลากัด
เขียนเมื่อ 30 มิ.ย. 2560   |   โดย ศรุดาภา   |   มีคนอ่านแล้ว 219975 คน

โรคที่มักเกิดกับปลากัด

ปลากัดจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย มีทั้งปลากัดหม้อและปลากัดจีน ผู้ที่เลี้ยงปลากัดมักจะเลี้ยงไว้ดูเล่นเพราะมีความสวยงาม เลี้ยงไว้เพื่การกีฬา รวมไปถึงการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ด้วย ปัจจุบันปลากัดไทยถูกพัฒนาสายพันธุ์และมีลักษณะสีสันสวยเด่นเฉพาะตัวของแต่ละสายพันธุ์ อีกทั้งปลากัดยังเป็นปลาที่มีความอดทนสูง ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่ใครๆก็ชื่นชอบกับความมีเสน่ห์ของปลากัดนั่นเอง  ไม่ว่าจะเลี้ยงปลากัดไว้ด้วยเหตุผลใด ผู้เลี้ยงก็มักจะหนีไม่ค่อยพ้นเรื่องของโรคปลากัด ซึ่งหากปลากัดป่วยจะทำให้อ่อนแอ รวมถึงสีสันและรูปร่างไม่สวยงาม  โรคที่มักพบได้ในปลากัดมีดังนี้ค่ะ   

 
  • โรคไฟลามทุ่ง  ปลาจะเป็นแผลบริเวณโคนครีบหาง  ครีบหู และครีบท้อง ขอบแผลจะมีลักษณะเป็นรอยช้ำแดง และเป็นเส้นปุยสีขาว เกร็ดของปลาจะพอง ผู้เลี้ยงจะสังเกตได้ว่าปลาจะลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำ  ตัวปลาจะด่าง  ครีบจะกร่อน เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ในระยะ 2-3 วัน หากพบว่าปลาเป็นโรคนี้ให้รีบแยกปลาที่ป่วยออกทันที 




  • โรคปากดำ สังเกตได้ว่าปลาที่เป็นโรคนี้จะมีขอบปากด้านบนที่หนากว่าปกติและจะมีสีดำเข้มเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นโรคที่รักษาไม่หาย หากปลากัดเป็นโรคนี้แล้วจะนำปลากัดไปต่อสู้ไม่ได้เนื่องจากปลาใช้ปากในการสู้กับศัตรู ให้แยกปลากัดออกจากตัวอื่นๆเพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้

  • โรคปากเปื่อย สังเกตได้ว่าปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลที่ขอบปากเป็นสีขาว และจะเป็นขุยเส้นเล็กๆปลาจะไม่ค่อยว่าายน้ำ และจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำ หากพบว่าปลาเป็นโรคนี้ต้องตักปลาแยกออกทันที เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษา


  • โรคที่เกิดจากเชื้อรา ปลากัดกัดจะมีอาการซึม ไม่ว่ายน้ำ หยุดกินอาหาร ตัวซีด และสังเกตได้ง่ายคือเกร็ดปลาที่เคยเป็นมันแววจะเป็นขุยสีขาว หรือเกร็ดปลาจะค่อยๆหลุดออก นั่นแสดงถึงอาการของโรคเชื้อราในปลากัด การรักษาแบบภูมิปัญญาชาวบ้านคือใส่เกลือ 1 ช้อนชาลงไปในโหลที่เลี้ยงปลา จากนั้นนำใบหูกวางมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ตามลงไป  ทิ้งไว้ประมาณ 2 คืน ปลาจะมีอาการดีขึ้น แล้วจึงค่อยเปลียนน้ำเพื่อใช้เลี้ยงใหม่ 




  • โรคท้องมาน  เกิดจากปลากัดติดเชื้อภายในช่องท้องและมีการอักเสบ ปลากัดจะมีลักษณะท้องโตจนทำให้ผู้เลี้ยงเข้าใจผิด คิดว่าปลากัดท้อง เพราะท้องจะพองมากผิดปกติ  ปลาจะหสยใจหอบ เกร็ดรอบตัวจะตั้งชัน บางตัวตาถลน  ปลาที่ป่วยจะแยกตัวออกจากฝูงเอง ผู้เลี้ยงบางรายใช้วิธีการรักษาปลาโดยการใช้เกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1.5 ลิตร แล้วนำปลาลงไปแช่ประมาณ 2 วัน อาการจะทุเลาขึ้น 




  • โรคปลาตัวสั่น สาเหตุมาจากน้ำที่ใช้เลี้ยงอาจสกปรกจนเกินไป ทำให้มีแบคทีเรียปะปนอยู่มาก หรืออาจเกิดจากอุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการตัวสั่น ว่ายน้ำผิดปกติ แก้ไขโดยการเปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงใหม่ และอุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่ต่างจากอุณหภูมิของน้ำเดิม จากนั้นให้เติมเกลือ  2 ช้อนชา ต่อน้ำ 5  ลิตร เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ลดลง

  • โรคหางและครีบเปื่อย  ปลาจะมีอาการซึมและกระตุกเป็นพักๆ โดยบริเวณครีบจะมีการเริ่มเปื่อยก่อน และจะลามไปจนถึงตัวปลา ถ้าปลาป่วยเป็นโรคนี้จะทำให้ครีบของปลาไม่สวยงาม บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และจะลุกลามไปเรื่อยๆจนหางหรือครีบปลาขาดหายไปและปลาอาจตายได้ในที่สุด  ซึ่งสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในน้ำสกปรก น้ำมีตะกอนหรือเศษอาหารทับถมอยู่มากจนเป็นแหล่งสะสมของโรคนั่นเอง



  • โรคจุดขาว ปลากัดจะมีจุดเล็กๆสีขาวขุ่นกระจายอยู่ตามตัวและครีบ หากเป็นมากจะพบที่ตาด้วย  โรคนี้จะทำลายเซลล์ผิวหนังของปลากัด เกิดจากตัวอ่อนของโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าอิ๊ก ที่มาฝังตัอยู่ใต้เยื่อบุบริเวณลำตัว และเหงือกของปลากัด ปลาจะหายใจหอบ ถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือแสดงอาการลอยหัวขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำ เนื่องจากเหงือกถูกทำลายไป ปลาอาจมีอาการซึม สีซีด ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง ไม่กินอาหาร ชอบเอาตัวถูกับพื้นตู้ หรือวัสดุต่างๆภายในตู้เนื่องจากพยายามขจัดอิ๊กให้หลุดออกนั่นเอง หากปลามีอาการหนักขึ้นนั่นหมายถึงเชื้อมีการเติบโตขึ้นเราจะสามารถมองเห็นเป็นจุดขาวๆคล้ายผงแป้งกระจายอยู่ทั่วตัวปลาได้อย่างชัดเจน   โรคนี้มักจะพบได้เสมอเป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากเชื้อจะพบอยู่แทบทุกที่ไม่ว่าจะเป็นในน้ำ อาหาร ตะกอน ชั้นหิน ระบบกรอง หรือแม้แต่ในปลาที่แสดงอาการปกติก็ตาม สิ่งที่ผู้เลี้ยงพอจะทำได้คือการเลี่ยงให้อาหารสดโดยไม่จำเป็น แต่หากเลี่ยงการให้อาหารสดไม่ได้ก็ควรทำความสะอาดตู้บ่อยๆ



  • โรคสนิม ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาลกระจายอยู่เป็นหย่อมๆบริเวณลำตัวและเหงือก บางทีผู้เลี้ยงเข้าใจผิดคิดว่าปลาเป็นโรคจุดขาว โรคนี้จะเกิดจากโปรโตซัว Oodinium pillularis มาเกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกปลา วิธีการรักษาโดยทั่วไปมักใช้เกลือ 1ช้อนชาใส่ลงในน้ำและนำปลามาแช่ไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง และควรจะทำซ้ำทุก 2 วัน






บทความโดย
www.tailybuddy.com

ข้อมูลจาก 
www.giantbetta.com
www.il.mahidol.com

ภาพประกอบ
www.lovebettafish.com
www.il.mahidol.com
www.face2cu.blogspot.com




TH
รถเข็นสินค้า

รถเข็นสินค้าของคุณว่างเปล่า
สินค้า จำนวน รวม